Inves_money

วิเคราะห์ทองคำศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2565

FX:XAUUSD   Emas / Dollar A.S.
ทองคำนิวยอร์กยังปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี เหตุเดิมดอลลาร์แข็งค่า

ทองคำนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ยังปรับร่วงลงจากการแข็งค่าของดอลลาร์ โดยหลักๆ ก็คงเป็นความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เห็นได้ว่า FedWatch tool ได้ชี้ว่านักลงทุนเชื่อมั่น 100% ว่าเฟดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.50% ในการประชุมนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง ในเดือนมิ.ย. และ ก.ค. ทำให้ดัชนีดอลลาร์ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องสลับช่วงปรับฐานสั้น ทำให้ทองคำเจอแรงกดดันตลอดเวลา แม้ระหว่างวันอาจมีการปรับขึ้นได้บ้างของราคาทองคำ แต่ก็ไม่อาจปรับขึ้นจากแรงซื้อระยะยาว เพียงมีแต่การกทำกำไรระยะสั้นๆ ตามการทดสอบแนวรับและแนวต้านสำคัญๆ

สัญญาตลาดทองคำ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลง 29.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 1.57% ปิดที่ระดับ 1,824.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้พิจารณาในกรอบรายวันกันก่อน กรอบรายวันตอนนี้ทางเทคนิคเราได้เห็นรูปแบบของ Gartley Pattern เกิดขึ้นมาโดยหากพิจารณาตามหลักการของรูปแบบดังกล่าวช่วงโอกาสในการเข้าซื้อประเมินไว้ที่ระดับ 1800-1809 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเป้าหมายราคาระดับช่วงแนวต้านบริเวณที่ 1 ระหว่าง 1977-1998 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านบริเวณที่ 2 ระหว่าง 2048-2071 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำจะกลับไปเหนือระดับ 1900 แล้วทดสอบบริเวณ 2000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้หรือไม่นั้น หากพิจารณาตามเหตุการณ์ ณ ปัจจุบัน โอกาสที่จะเป็นก็มีความเป็นไปได้ ไม่ว่าความไม่แน่นอนจากสงครามที่อาจส่อเค้าขยายวงกว้างขึ้น และเหตุการแพร่ระบาดโควิดที่พบเป็นรายแรกที่เกาหลีเหนือ และที่จะไม่กล่าวถึงเลยไม่ได้คือภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงทั่วโลกขณะนี้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่จะมีการเร่งปรับอัตราดอกเบี้ยรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าจะปรับที่ระดับ 0.50% ในอีกสองครั้งที่จะมีการประชุมต่อจากนี้ จึงคงเป็นเหตุผลให้เกิดความผันผวนต่อราคาทองคำตลอดเวลา ปกติแล้วผมจะเป็นคนที่ชอบหารูปแบบของ Harmonic ในการตัดสินใจวางแผนการเทรดในกรอบรายวันเป็นหลัก ซึ่งจากรูปแบบนี้ถ้าประเมินกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผมมีความเชื่อลึกๆ ว่าเรื่องการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลไกระยะสั้น ผมไม่เชื่อว่าดอลลาร์จะแข็งค่าสูงสุดที่เป็นอยู่ขณะนี้ได้ยาวเกินไป เพราะก็จะไม่ส่งผลดีต่อกลุ่มผู้ค้าส่งออกของสหรัฐฯ โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่มีเรื่องพลังงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเรื่องต้นๆ ชาติยุโรปก็คงตัดสินใจซื้อพลังงานราคาแพงจากสหรัฐฯ ได้ลำบากมากขึ้น ยิ่งค่าดอลลาร์แข็งค่าเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อราคาพลังงานที่จะนำเข้าจากสหรัฐฯ โดยตรงอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงเป็นเหตุให้ติดตามได้ตลอดเวลาจริงๆ ประเมินสำหรับกรอบรายวันนั้น ถ้าหากรูปของ Harmonic (Gartley) ที่เปิดขึ้นไม่เสียทรง คาดว่าถ้าไม่หลุด 1800-1809 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไปได้อีกครั้ง แต่ทั้งนี้ถ้าพิจารณาส่วนย่อยนั้นเรายังคงเห็นอุปสรรคจากแรงซื้อที่ยังไม่สูงพอเท่าไหร่นัก เมื่อพิจารณาจากเส้น SMA50 ที่บริเวณ 1900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะเป็นอุปสรรคพอสมควรที่จะทำให้ราคาทองคำฟื้นคืนตัวกลับไปได้อีกอย่างมั่นคงเหนือระดับ 1900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็ต้องเฝ้าติดตามหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปได้จริง และเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว

=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================

Short Position : หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านบริเวณ 1829-1834 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจเสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยคงเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาปิดทำกำไรในกรอบแนวรับตั้งแต่ 1822-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1834 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

Long Position : หากราคาทองคำทรงตัวเหนือแนวรับบริเวณ 1822-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิด “ซื้อ” ได้จากแนวบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเป็นหลัก ให้พิจารณาปิดทำกำไรในกรอบแนวต้านบริเวณ 1840-1835 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์)



แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง)
-------------------------------------------
Resistance :1842 / 1891 / 1925
-------------------------------------------
Support : 1842 / 1813 / 1780
-------------------------------------------

แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1829 / 1834 / 1840
-------------------------------------------
Support : 1822 / 1810 / 1799
-------------------------------------------

แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Down trend
Time Frame H4 = Down trend
Time Frame Day = Down trend
Time Frame Week = Up trend
Time Frame Month = Up trend

-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (เมษายน)
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ล่าสุดลดลง -5.80
คงถือสุทธิ = 1,060.82 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,821.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 8
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -33.73 ตัน
-------------------------------------------------




*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต

Pernyataan Penyangkalan

Informasi dan publikasi tidak dimaksudkan untuk menjadi, dan bukan merupakan saran keuangan, investasi, perdagangan, atau rekomendasi lainnya yang diberikan atau didukung oleh TradingView. Baca selengkapnya di Persyaratan Penggunaan.