หนังสือ Technical Analysis in financial market ของ JJ Murphy ถือว่าเป็น the best ของตำราเทคนิคอลที่เคยอ่าน ซึ่งความหนาระดับ 7-800 หน้า ทำให้หลายคนเลือกที่จะจำกฏ 10 ข้อของเมอร์ฟี่มากกว่าด้วยซ้ำ

ในบรรดากฏ 10 ข้อ กฏข้อที่ผมนิยมใช้ในการปฏิบัติจริงมีอยู่ 2 ข้อ นั่นก็คือ Learn the turn และ Know how far to backtrack ซึ่งความหมายของกฏทั้ง 2 ข้อนี้คือ ให้รู้จักเครื่องมือเกี่ยวกับ oscillator และระดับการย่อ

สิ่งที่ผมใช้เป็น combination ของกฏ 2 ข้อนี้คือ การที่เราหาหุ้นที่มี relative strength สูงๆในรอบ 6/12 เดือน ตามเสด็จพ่อโอนีลแนะนำ มาหาว่าหุ้นตัวไหนมีแพทเทิร์นการพักตัว การพักตัวนั้นลงลึกเพียงใด และเครื่องมือประเภท oscillator ลงจบหรือไม่ การที่ oscillator ระดับ tf day ลงจบนี่ค่อนข้างหาได้ยาก ปีนึงอาจเกิดแค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น (สำหรับหุ้นอัพเทรนหรือ RS สูงๆ)

พอเราได้หุ้นที่พักฐานมา สิ่งที่เราดูพิจารณาต่อก็คือ “ระดับของการย่อ” ใครที่ตี Fibonacci เป็นอาจหาหุ้นที่พักระดับ 23.6-38.2 หรือถ้าตีไม่เป็น อาจพิจารณาจากการลงมาพักที่เส้น ema ก็ได้ (ให้ดีไม่ควรหลุดเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง)

จากกราฟ XPG (Zmico เก่า) จะเห็นว่า การพักที่ stochastic ลงสุดทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกราคาลงมาแค่บริเวณกึ่งกลางเส้น 10 และเส้น 50 วัน ส่วนครั้งที่ 2 ลงมาเส้น 50 วัน หรือถ้าใครตี Fibonacci เป็น ก็จะพบว่าทั้ง 2 ครั้งลงมาที่แนว 38.2

วิธีการเทรดอาจจะเข้าด้วย tf ย่อย หรือกดตอนเบรกไปเลยก็ได้ เพราะการพักระดับ day รูมในการวิ่งจะเยอะพอสมควร

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกตัวที่จะไป ทั้งนี้ก็ขึ้นกับวอลุ่ม นิสัย และ catalyst อื่นๆ มาประกอบกัน

Technical Indicators

Pernyataan Penyangkalan