วิเคราะห์ทองคำพุธที่ 10 สิงหาคม 2565

ทองคำปรับบวกก่อนรายงานเงินเฟ้อถูกเปิดเผยช่วงคืนวันนี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 7.10 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ราคา 1,812.3 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ตลาดทองคำกลับมายืนเหนือระดับ 1800 ได้อีกครั้ง โดยการปรับขึ้นมาครั้งนี้ก็มีปัจจัยเดิมๆ ที่เกิดจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และส่วนหนึ่งก็มาจากที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังตลาดหุ้นร่วง ขณะที่นักลงทุนก็ยังคงเฝ้าติดตามรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ที่จะรายงานในช่วงค่ำของวันนี้เวลา 19:30 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งจากการติดตามข้อมูลของนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ในเดือนกรกฎาคม ทั่วไปรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวลดลง 8.7% จากเดือนมิถุนายนที่ 9.1% ส่วนดัชดีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน CPI ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานของเดือนกรกฎาคมจะเพิ่มขึ้น 6.1% จากเดือนมิถุนายนที่ระดับ 5.9% ทั้งนี้หากตัวเลข CPI ซึ่งสะท้อนถึงตัวเลขเงินเฟ้อของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากออกมาลดน้อยลงตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่สังเกตุจากราคาพลังงาน (น้ำมัน) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้การตัดสินใจของเฟดต่อการดำเนินนโยบายการเงินอาจมีความชัดเจนมากขึ้น เพราะก่อนหน้าสัปดาห์ก่อนหน้าตัวเลขแรงงานออกมาดีเกินคาดทำให้ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรง ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อนั้นจะส่งผลต่อความแข็งแกร่งของดัชนีดอลลาร์ และการปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีได้เช่นกัน

ประเมินทางเทคนิคทองคำระยะสั้นวันนี้ทองคำกลับมาช่วงปรับฐานราคาอีกครั้งหลังปรับตัวเข้าโซน Overbought (ซื้อมากเกินไป) ทางเทคนิคประเมินว่าหากราคาทองคำยังมีแรงซื้อหนุนสนับสนุนไว้ แนวรับทองคำช่วง 1787-1778 จะเป็นช่วงที่ควรรอเข้าซื้อทองคำอีกครั้ง หากราคาทองคำไม่หลุดต่ำไปจากแนวรับดังกล่าว ซึ่งทองคำยังคงรักษาระดับได้ดีส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะชะลอตัวลงในเดือนกรกฏาคมนี้ ทำให้มีโอกาสที่ทองคำจะปรับตัวขึ้นได้เหนือ 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นักลงทุนจึงควรวางแผนโอกาสการเข้าซื้อทองคำสะสมช่วงแนวรับสำคัญๆ สำหรับแนวต้านวันนี้จะอยู่ที่ช่วง 1800-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์

=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================

Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1800-1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น อาจเสี่ยงเปิดคำสั่ง “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น พิจารณาขายออกบริเวณแนวรับ 1792-1787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวสูงกว่า 1810 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

Long Position : รอซื้อคืนทองคำหากราคาทองคำย่อตัวลงมาบริเวณแนวรับ 1792-1787 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เน้นการลงทุนระยะสั้น พิจราณาขายออกบริเวณแนวต้าน 1800-1810 หากราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวได้ แต่หากผ่านขึ้นไปได้ก็ให้พิจารณาชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน ประเมินแนวต้านถัดไปที่ระดับ 1817-1822 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1787 ดอลลาร์ต่อออนซ์)


แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง)
-------------------------------------------
Resistance :1803 / 1836 / 1856
-------------------------------------------
Support : 1756 / 1727 / 1681
-------------------------------------------

แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1800 / 1808 / 1814
-------------------------------------------
Support : 1787 / 1778 / 1772
-------------------------------------------

แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Uptrend
Time Frame H4 = Uptrend
Time Frame Day = Downtrend
Time Frame Week = Uptrend
Time Frame Month = Uptrend

-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครอง
คงถือสุทธิ = 999.16 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,774.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 4
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -6.71 ตัน
-------------------------------------------------




*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต
fibonaccianalysisgoldanalysisgoldtradingSupport and ResistancesupportandresistancezonesTechnical AnalysisTrend AnalysisTrend LinesXAUUSDxpowerteam74

Juga di:

Pernyataan Penyangkalan