Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

สัญญาณขัดแย้งปลายตลาดขาลง
ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจทั้งปี ขณะที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 การส่งมอบล่าช้า สร้างผลกระทบต่อยอดผู้ได้รับวัคซีน ซึ่งถือเป็นอาวุธสำคัญที่ชะลอการแพร่ระบาดของวิด-19 ดัชนีตลาดปิดที่ 1,521.92 จุด ลดลง 15.86 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.77 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม ตลาดปรับตัวลดลงหลังผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ต่ำกว่าประมาณการ แม้เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.00 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ และยังคงวงเงินที่จะซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้าน ดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,516 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับสัญญาณ DMI และการเรียงตัวของเส้น MMA2 สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลงในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,510 จุด และ 1,501 จุด ตามลำดับ สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,554 จุด

จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับลดลงหลุดแนวรับที่ 1,530 จุด ลงมาปิดที่ 1,521 จุด ทำให้คลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping จึงควรรอการจบคลื่นปรับ (Collective wave) ก่อนที่จะปรับการนับคลื่นใหม่

สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence (ยอดที่สอง) ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,510 – 1,500 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์

#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Trend AnalysisWave Analysis

Pernyataan Penyangkalan