Cari
Produk
Komunitas
Pasar
Berita
Broker
Lebih lanjut
ID
Obral Black Friday
DISKON hingga 70%
Komunitas
/
Ide-Ide
/
ช่วงนี้ควรเริ่มทยอยซื้อหุ้นที่ลงมาเยอะๆ เข้าพอร์ตแล้วหรือยัง?
KASIKORNBANK PUBLIC COMPANY LIMITED
Edukasi
ช่วงนี้ควรเริ่มทยอยซื้อหุ้นที่ลงมาเยอะๆ เข้าพอร์ตแล้วหรือยัง?
Oleh Real_inwCoin
Ikuti
Ikuti
26 Sep 2020
1
3
1
1
26 Sep 2020
ช่วงนี้เลื่อน Facebook ผ่านเพจหุ้นต่างๆ ก็จะเริ่มมีโพสเชิงกึ่งคำถามว่า ตอนนี้ ตัวนี้น่าเริ่มซื้อหรือยัง? ตัวนั้นลงมาเยอะแล้วต้องซื้อแล้วถือยาวดีมั้ย?
ผมเอง ก็ไม่ใช่เซียนหุ้นอะไร เพราะส่วนตัวก็ยังเพิ่งมาดู price pattern ของหุ้นไทยได้ไม่นานเหมือนกัน .. แต่ด้วยความรู้ของการนั่ง Backtest ด้วยกลยุทธ ตระกูล Trend Following มาหลายสินค้า .. ก็พอสรุปรูปแบบของกราฟที่ดูแล้วน่าจะเป็น "ขาขึ้น" ได้ดังนี้
--------------------------------
1) กราฟขาขึ้น = indicator ชี้ขึ้น
--------------------------------
* ข้อนี้สำคัญมากที่สุด และโคตรง่ายที่สุด พิมพ์แล้วก็เหมือนกำปั้นทุบดิน แต่มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
* เอาง่ายๆ กราฟใดๆ มันจะขึ้นได้ สิ่งที่ผมสังเกตุเห็นได้ มันจะมีสิ่งคล้ายๆ กันดังนี้
* Exponential Moving Average ( 21 ) เคลื่อนที่ไปในทิศทางชี้ขึ้นและจะอยู่ใต้แท่งเทียน
* Action Zone เขียว ( หรือเส้น MACD ทั้งสองเส้น > 0 )
* ถ้าเอา CDC ATR มาใส่กราฟ ก็จะเป็นสีเขียว
* พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าอยากจะซื้อจริงๆ ก็นั่งรอให้เงื่อนไขข้างบนครบก่อนก็น่าจะดีกว่าครับ เพราะอย่างน้อย เราจะมีโอกาสที่เราจะได้กำไร สูงกว่าเสียตัง
--------------------------------
2) ถ้าตลาดมันยังเป็นขาลง มันก็จะลงไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะหยุดลง
--------------------------------
* ข้อนี้ก็เหมือนเป็นการตอบแบบกวนตีนๆ อีกเช่นกัน แต่ตลาดมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ
* ถ้ามันจะหยุดลง ..กราฟมันก็จะค่อยๆ กลับตัว ขึ้นมาเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนสุดท้าย indicator ทั้งหลายที่ผมบอกในข้อแรก มันก็จะเขียว .. และนั่นคือจุดที่เราควรจะเสี่ยงเข้า และมีโอกาสชนะสูงขึ้น
* ต่างกับช่วงที่กราฟมันยังแดง ยังหัวปัก เหมือนหุ้นในตัวอย่างนี้ การที่เราเข้าไปเสี่ยงซื้อ ตอนที่กราฟยังเป็นขาลงอยู่ ก็เท่ากับการไปรับมีดที่กำลังหล่น..
* ถ้าโชคดี มีดมันเริ่มหมดแรงหล่นแล้วเราก็อาจจะไม่เจ็บหนัก และมีดก็จะพาเรารวยได้
* แต่ถ้าโชคร้าย มีดมันยังไม่หมดแรง แล้วมันหล่นต่อ มันก็จะทิ่มทะลุมือเรา ลงไปให้เราเอาตีนรับอีกรอบ ... ซึ่งถ้ายังโชคร้ายอยู่ มันก็จะทะลุตีนไปด้วย
* ทางที่ดี ผมว่า นั่งรอดูให้มีดมันหล่นลงพื้น แล้วหยุดสะบัดก่อน แล้วค่อยก้มลงเก็บมีด ... น่าจะปลอดภัยกว่า...
* คนส่วนใหญ่ กลัวจะไม่ได้ของ กลัวจะตกรถ แถมพวกสื่อต่างๆ ก็บิ้วให้เราซื้อซะเหลือเกิน เหมือนกับว่า ของแม่งลดราคาลงมาขนาดนี้แล้ว ไม่ซื้อก็โง่
* แต่ถ้าใครเคยผ่านช่วง ICO เน่า ของตลาดคริปโตมาก่อน คุณจะเข้าใจว่า ถ้าตลาดมันลง ไม่ว่าคุณจะถัวสวนเทรนแค่ไหน มันก็จะสามารถลงไปอีกได้เรื่อยๆ เรื่อยๆ จนกว่ามันจะหยุดลงจริงๆ โน่นแหละ 555
--------------------------------
3) ไม่มี Oversold ที่แท้ทรู และไม่มี Overbought ที่แท้ทรู เช่นกัน
--------------------------------
* มือใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาด ก็จะไปยึดติดกับหลักการ RSI Oversold ที่เขาสอนๆ กันว่า เฮ้ย มัน OS + Bullish divergence แล้ว เดี๋ยวมันต้องเด้งในเร็วๆ นี้แน่ๆ แล้วก็รีบไปซื้อสวนเทรนกัน
* ปัญหาของระบบสวนเทรนแบบนี้ มันก็คือว่า... มันสวนเทรนอ่ะ! .. มันอาศัยโชคล้วนๆ เลยครับ!
* ถูก ว่าบางครั้ง เราสวนแล้วมันจะขึ้นก็ได้ .. แต่ก็ต้องถามว่า แล้วโอกาสมันกี่% ล่ะ? แล้วมันคุ้มกับการสวนหรือไม่? เพราะผมเคยเห็นบางทีมัน OS แล้ว OS อีก มันก็ลงไปได้เรื่อยๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุดนะครับ 55
* ดังนั้น ผมว่า รอชัวร์ๆ ก่อนดีกว่า
--------------------------------
4) ซื้อแล้วดอย ก็ไม่เป็นไรหรอก เราเป็น VI มองการลงทุนระยะยาว
--------------------------------
* ข้อนี้ มักเป็นคำแก้ตัวของคนติดหุ้น แล้วไม่ยอมเรียนรู้ว่าทำไมถึงติด แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร
* เคส VI นี่ ถ้าเราไปดูกราฟของ KBANK ที่ทำ New Low 10 ปีก็พบว่า...
* ไม่ว่าคุณจะทยอยซื้อหุ้น KBANK ที่ราคาเท่าไหร่ก็ได้ แล้วไม่ขาย ( DCA หุ้น ) ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา.. ณ ตอนนี้ คุณก็จะ "ดอย" อยู่ดี ครับ
* จะดอยมาก ดอยน้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณไปดอยที่ราคาเท่าไหร่ .. แต่ถ้าจะให้เฉลี่ยๆ ก็น่าจะมี ระดับ -50% up
* กลายเป็นว่า.. VI เนี่ย จริงๆ แล้ว มันใช้กับตลาดหุ้นไทยเราได้หรือป่าว? หรือใช้ได้แค่ช่วงหลังวิกฤต sub prime ตอนปี 2008? หรือเป็นแค่คำหวานที่เหล่ากูรูหุ้นหลอกให้เราถือหุ้นไปเรื่อยๆ ไม่ยอมขาย?
* อย่าลืมนะครับ เรามาลงทุน ก็อยากให้เงินเรางอกเงย เมื่อเวลาผ่านไป .. ไม่ใช่ว่า ยิ่งถือ ก็ยิ่งขาดทุน
* เราทำธุรกิจ ปีสองปีแรก ขาดทุน เราอาจจะต้องมานั่งคิดทบทวนดูเลยครับว่า ควรจะทำต่อดีไหม หรือยอมเลิกกิจการแล้วไปทำอย่างอื่น
* นี่กลายเป็นว่า พอเราติดหุ้น เราก็ทนขาดทุนไปเรื่อยๆ และรออย่างมีความหวังว่า "สักวัน" ราคามันน่าจะขึ้นไปสิบเด้งร้อยเด้ง เหมือนที่มันเคยขึ้นไปในอดีต... แบบนี้มันไม่ใช่การลงทุนแล้วครับ มันคือการซื้อหวยดีๆ นี่เอง 555
--------------------------------
สรุปว่า... ควรซื้อหรือยัง
--------------------------------
อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมตอบเลยว่า "ยัง" ... เก็บเงินสดของท่านไว้ก่อนดีกว่า...
ไม่ต้องรีบช้อน กะจะได้จุดต่ำที่สุดหรอกครับ ตลาดมันก็อยู่ของมันตรงนี้ ไม่ไปไหน อีกกี่สิบกี่ร้อยปี มันก็ยังอยู่ เพราะว่า มันคือสิ่งที่เล่นกับความโลภของคนที่ไม่รู้ และคิดว่า ตลาดมันง่ายๆ นั่งกระดิกตีนริมชายหาดก็รวยได้ เหมือนดังภาพที่สื่อชอบเอามาหลอกพวกเรากัน..
ระหว่างรอ ก็นั่งศึกษาหาข้อมูลกันไปก่อน อย่างน้อย ก็ควรดูกราฟให้เป็น..
ยุคนี้ มีเว็บอย่าง tradingview ช่วยให้ท่านดูกราฟ + ใส่ indicator ได้อย่างง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเหมือนสมัยก่อนแล้วครับ
พวก กลยุทธ ต่างๆ ผมก็ทำแจกเอาไว้เยอะแยะ ก็ไปเรียนรู้ หาวิธีใส่ แล้วก็ลองศึกษามันไปเรื่อยๆ ดูก่อน ยังไม่ต้องรีบกดซื้อด้วยเงินจริง ลองนั่ง backtest ไปเรื่อยๆ ก่อนว่า ท่าไหน ที่เราน่าจะเข้าซื้อ แล้วมีโอกาสชนะมากที่สุด
แล้วก็.. อย่าไปฟังพวกเพจเชียร์หุ้น กลุ่มหุ้น หรือบทวิเคราะห์อะไรมากนัก ถ้าอยากซื้อ ให้กลับมาเปิดกราฟดูก่อนว่า มันกลับตัวเป็นขาขึ้นหรือยัง.. ถ้ายัง ก็ยังไม่ต้องซื้อ แต่ใส่ watch list ไว้ก่อน
ก็ลองไปปรับใช้กันดูนะครับ อยากให้ทุกคนดูกราฟกันเองเป็น จะได้ไม่ไปติดดอยส่งเดช ครับ ช่วงนี้เงินยิ่งหายากอยู่ ...
อ้อ ส่วน ถ้าใคร เทรดหุ้นธรรมดา ยังไม่มีกำไรสม่ำเสมอตลอด 1-2 ปี... อย่าคิดแม้แต่จะไปลอง TFEX นะครับ ... หมดตัวแน่นอน 555
KBANK
setindex
stockexchangeofthailand
Trend Analysis
Real_inwCoin
Ikuti
- ถ้าอยากดูผล Backtest ของกลยุทธนี้ ให้เปิดผ่าน web browser บน PC นะครับ
- ถ้าอยากติดตามเพจ ก็เข้าไปไลค์ได้ที่ facebook.com/inwcoin
- ทุกบทวิเคราะห์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นเพียงการศึกษา Technical Analysis และบันทึกไว้เป็นหลักฐานของผมเองเท่านั้น
Juga di:
Pernyataan Penyangkalan
Informasi dan publikasi tidak dimaksudkan untuk menjadi, dan bukan merupakan saran keuangan, investasi, perdagangan, atau rekomendasi lainnya yang diberikan atau didukung oleh TradingView. Baca selengkapnya di
Persyaratan Penggunaan
.